Faq
  • การใช้งาน

    Answer :

    ต้องการเรียนวิธีการก่ออิฐมวลเบาที่ถูกต้องจากคิวคอนต้องทำอย่างไร

    ลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของ Q-CON สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการใช้งานผลิตภัณฑ์ หรือนัดสาธิตวิธีการทำงานที่หน้างานได้

    กรุณาติดต่อฝ่ายบริการเทคนิค Q-CON ได้ที่หมายเลข 035-258-999 หรือ 035-259-131-4 ต่อ 251
    ในช่วงเวลาทำการ  (จันทร์ - ศุกร์  8:00 - 17:00)
    Answer :

    วิธีการก่ออิฐมวลเบาเหมือนการก่ออิฐมอญหรือไม่

    ไม่เหมือน เพราะ การก่ออิฐมวลเบาใช้ปูนก่อสำหรับอิฐมวลเบาโดยเฉพาะ  ซึ่งมีลักษณะเป็นปูนกาว โดยใช้เกรียงก่อสำหรับการก่ออิฐมวลเบา  ส่วนอิฐมอญใช้ปูนทรายและใช้เกรียงใบโพธิ์ในการก่อ
    Answer :

    จะต้องใช้ปูนอะไรในการก่ออิฐมวลเบาแถวแรก ?

    • ชั้นที่ 1 : ป้ายปูนก่ออิฐมวลเบาเพื่อยึดปูนทรายกับพื้น
    • ชั้นที่ 2 : ใช้ปูนทราย เพื่อปรับระดับ
    • ชั้นที่ 3 : ปูนก่ออิฐมวลเบาเพื่อยึดปูนทรายกับบล็อค
    Answer :

    การก่ออิฐมวลเบาจำเป็นต้องมีเหล็กหนวดกุ้งเหมือนอิฐมอญหรือไม่

    จำเป็น  โดยการก่ออิฐมวลเบาจะใช้ Metal strap เพื่อยึดระหว่างอิฐกับเสาโครงสร้างแทนเหล็กหนวดกุ้ง เพื่อความสะดวก ลดระยะเวลาการทำงานลง
    Answer :

    ระหว่างผนังอิฐ Q-CON กับเสา ทำอย่างไรไม่ให้เกิดรอยร้าว

    ทำได้โดยการใส่ Metal Strap หรือเหล็กหนวดกุ้ง เพื่อยึดติดระหว่างอิฐ กับ เสาคอนกรีต
    Answer :

    การฉาบผนังอิฐมวลเบา Q-CON หนา 7.5 ซม. ต้องฉาบหนา ทำให้เกินขนาดวงกบ 9 ซม. จริงหรือไม่

    ไม่จริง เพราะผนังอิฐ Q-CON ควรฉาบปูนที่ความหนา 5-10 มม. เพราะฉะนั้นวงกบขนาด 9 ซม. จึงฉาบเพียงข้างละ 7.5 มม. (ทั้ง 2 ข้าง) ส่งผลให้ประหยัดค่าปูนฉาบ และทำงานได้รวดเร็ว
    Answer :

    วิธีการติดตั้งวงกบที่เป็นอลูมิเนียม ควรทำอย่างไร

    การติดตั้งวงกบอลูมิเนียม ควรติดตั้งหลังจากฉาบผนังคอนกรีตมวลเบาเสร็จแล้ว
    Answer :

    ผนังที่ก่อด้วยอิฐมวลเบา Q-CON จะต้องเทเสาเอ็นเหมือนอิฐมอญหรือไม่ และมีสินค้าใดทดแทนการเทเสาเอ็นบ้าง

    ต้องเทเสาเอ็นเหมือนอิฐมอญแต่สามารถเพิ่มระยะห่างระหว่างเสาเอ็นได้มากกว่า ในปัจจุบัน Q-CON มีผลิตภัณฑ์คานทับหลังสำเร็จรูป (Q-CON Lintel) ใช้แทนการหล่อคานทับหลังที่หน้างาน ทำให้สามารถลดเวลาและต้นทุนในการทำงานลงได้
    Answer :

    ถ้าบ้านออกแบบมาให้ใช้ผนังอิฐมอญ แต่อยากเปลี่ยนมาใช้ผนังอิฐมวลเบา Q-CON แทน จะมีปัญหากับโครงสร้างหรือไม่

    ไม่มี เนื่องจากผนังอิฐ Q-CON หนา 7.5 ซม. และฉาบปูน 2 ด้าน มีน้ำหนัก 90 กก./ ตร.ม. ในขณะที่อิฐมอญฉาบปูน2 ด้าน มีน้ำหนักถึง180 กก./ ตร.ม. ดังนั้นการเลือกใช้อิฐ Q-CON ทดแทนผนังอิฐมอญไม่ได้เพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้าง
    Answer :

    วิธีการก่ออิฐมวลเบา Q-CON เหมือนการก่ออิฐมอญหรือไม่

    ไม่เหมือน เพราะการก่อผนังด้วยอิฐมวลเบา Q-CON ต้องใช้ปูนก่อสำหรับคอนกรีตมวลเบาโดยเฉพาะ ซึ่งมีลักษณะเป็นปูนกาว โดยใช้เกรียงก่อสำหรับการก่ออิฐมวลเบา ส่วนอิฐมอญใช้ปูนทราย และใช้เกรียงใบโพธิ์ในการก่อ
    Answer :

    ​อิฐมวลเบา Q-CON แข็งแรงจริงหรือไม่ สามารถ ตอก ยึด แขวนสิ่งของได้หรือไม่

    อิฐมวลเบา Q-CON แข็งแรง สามารถรับกำลังอัดได้มากถึง 30-80 กก./ ตร.ซม. โดยมากกว่าอิฐมอญถึง 2 เท่า การรับน้ำหนัก สามารถเจาะหรือแขวนสิ่งของต่างๆบนผนังอิฐมวลเบาได้ เพียงใช้พุกสำหรับคอนกรีตมวลเบาในการเจาะผนัง และไม่ทำให้ผนังแตกร้าว โดยพุก 1 ตัวสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 30 กิโลกรัม
    Answer :

    อิฐมวลเบาที่ควรเลือกใช้ ควรมีขนาดเท่าใด จึงจะแข็งแรง ทนทาน ประหยัดพลังงาน

    ตามมาตรฐาน มอก. รับรองอิฐมวลเบาที่มีความหนาตั้งแต่ 7.5 ซม. ขึ้นไป แต่ความหนาที่ได้รับความนิยมในท้องตลาดคือ หนา 7.5 ซม. และ 7.0 ซม. ซึ่งอิฐมวลเบาหนา 7.5 ซม. มีความแข็งแรงกว่า รับแรงได้มากกว่า และส่งผลให้ แตกร้าวน้อยกว่า ทั้งขณะขนส่งหรือเมื่อก่อสร้างเสร็จ ในแง่การใช้งาน อิฐมวลเบาหนา 7.0 ซม. ต้องใช้การฉาบที่หนากว่า หรือฉาบถึง 2 ชั้น เพื่อให้ได้ตามความหนาของผนังมาตรฐาน ส่งผลให้ ทำงานได้ช้ากว่า และอาจทำให้งานของคุณเสร็จไม่ทันตามเวลา สิ้นเปลืองปูนก่อ และปูนฉาบ
    Answer :

    ​สามารถใช้อิฐมวลเบา Q-CON กับบริเวณที่เปียกน้ำได้หรือไม่

    ใช้ได้ เพราะอิฐมวลเบา Q-CON มีคุณสมบัติการดูดซึมน้ำต่ำ จึงสามารถใช้กับห้องน้ำหรือผนังภายนอกอาคารส่วนที่ต้องสัมผัสกับน้ำได้ ส่วนการป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อราบนผนังห้องน้ำ สามารถทำได้ โดยต้องออกแบบให้ส่วนรอยต่อระหว่างพื้นกับผนังเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก และจะต้องมีความลาดเอียงของพื้น เพื่อให้น้ำระบายออกได้โดยเร็ว ไม่เกิดน้ำขังตลอดเวลา หรืออาจป้องกันเพิ่มด้วยการทาน้ำยาป้องกันเชื้อราในส่วนของพื้น และผนังที่ต้องมีการสัมผัสความชื้นตลอดเวลา
    Answer :

    เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับอิฐมวลเบา Q-CON มีอะไรบ้าง

    • เกรียงก่อ: ใช้ป้ายปูนก่อประสานระหว่างก้อน ควรเลือกใช้ให้ตรงตามความหนาของอิฐ Q-CON
    • หัวปั่นปูน: ใช้ต่อเข้าหัวสว่านไฟฟ้า เพื่อปั่นตีปูนให้ผสมคละเคล้าเข้ากันดี ในเวลาเพียง 1-2 นาที
    • ค้อนยาง: ใช้เคาะปรับแต่งระดับและแนวในการก่อผนังอิฐ Q-CON
    • เลื่อย: ใช้ตัดอิฐ Q-CONให้ได้ขนาดที่ต้องการ
    • เกรียงฟันปลา: ใช้ไสขัดผิวอิฐ Q-CON เพื่อให้หน้าสัมผัสราบเรียบเสมอกัน
    • Metal Strap: ใช้สำหรับยึดอิฐ Q-CON เข้ากับโครงสร้างหลัก เช่น เสา คสล. เป็นต้น
    • ตะแกรงกรงไก่: ติดตั้งบริเวณที่ก่ออิฐ Q-CON ชนกับเสาหรือคาน ติดตั้งทะแยงบริเวณมุมช่องเปิด หรือติดตั้งทับแนวที่มีการเซาะร่องฝังท่องานระบบ เพื่อป้องกันปัญหาการเกิดรอยแยกของปูนฉาบในบริเวณดังกล่าว
  • คุณสมบัติทั่วไป

    Answer :

    อิฐ Q-CON มีมาตรฐานใดรับรองบ้าง

    ผลิตภัณฑ์ Q-CON ได้รับอนุญาตให้แสดงเครื่องหมาย มอก. จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันที่เชื่อถือได้ ดังนี้

    มอก. 1505-2541: ชิ้นส่วนคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ
    มอก. 1510-2541: แผ่นคอนกรีตมวลเบาเสริมเหล็กแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ
    DIN 4165: Autoclaved Aerated Concrete Blocks & Flat Elements
    DIN 4223: Steam Cured Reinforced Roof and Floor Panel out of Gas and Foamed Concrete
    JIS A 5416-1995: Autoclaved Lightweight Aerated Concrete Panels
    ISO 9001: 2000 Certificate No.17553

    ผลการทดสอบ
     
    คุณสมบัติของ Q-CON ค่าที่ได้ หน่วย สถาบันที่ทำการทดสอบ
    ความหนาแน่น (Dry Density) 500 – 700 กก./ ลบ.ม. (Kg./ Cu.m.) AIT, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    กำลังรับแรงอัด (Compressive Strength) 30 – 80 กก./ ตร.ซม. (Kg./ c.m.2) AIT, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    ค่าการนำความร้อน , K (Thermal Conductivity) 0.089-0.098 วัตต์/ ม.-เคลวิน (W/ mK) กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์
    เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
    ค่าการถ่ายเทความร้อนของผนัง, OTTV
    (Overall Thermal Transfer Value)
    12 – 25 วัตต์/ ตร.ม. (W/ m2) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
    อัตราการกันไฟ (Fire Protection Ratings) 4 ชั่วโมง (Hr.) คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    อัตราการดูดซึมน้ำ (Water Absorption) 30.23 เปอร์เซ็นต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    ความแม่นยำของขนาดก้อน (Dimensions) ​+-2 มม. (mm.) คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    ค่าการกันเสียง (Sound Transmission Class (STC)) 43 เดซิเบล (dB.) Singapore Productivity And
    Standards Board (PSB)
    Answer :

    ทำไมอิฐมวลเบา Q-CON คุ้มค่ากว่าอิฐมอญ

    หัวข้อ/ รายละเอียด อิฐ Q-CON อิฐมอญหรืออิฐแดง
    ประเภทผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาที่มีมาตรฐานสูงผลิตภัณท์จากวัสดุคุณภาพ คัดเกรดมั่นคงแข็งแรงอายุการใช้งานยาวนาน ผลิตจากดินเหนียว ตัดให้ได้ขนาดแล้วนำเข้าเตาเผาคุณภาพไม่แน่นอน ดีบ้างไม่ดีบ้าง
    ขบวนการผลิต ผลิตจากเทคโนโลยีเยอรมัน ภายใต้การอบไอน้ำภายใต้ ความดันสูงจนกระทั่งเนื้อวัสดุเป็นผลึกที่แข็งแรงและเบา ขนด้วยแรงงานคนทีละก้อน มีปัญหามากในกรณีอาคารสูง และพื้นที่การกองเก็บ
    ขั้นตอนการออกแบบ
    โครงสร้างอาคาร น้ำหนักเพียงครึ่งหนึ่งของอิฐมอญ (90 กก./ ตร.ม.)ประหยัดจากการลดขนาดโครงสร้างอาคาร โครงสร้างขนาดใหญ่ เนื่องจากน้ำหนักมากกว่า 2 เท่า (180 กก./ ตร.ม.)
    ขั้นตอนการก่อสร้าง
    การควบคุมบริหารงานก่อสร้าง ควบคุมปริมาณวัสดุได้ จัดการอย่างเป็นระบบ ปริมาณใช้งานไม่แน่นอน ไม่เป็นระบบ
    ความรวดเร็วในการติดตั้ง ก่อได้ 20-25 ตร.ม./ วัน เร็วกว่า 3-5 เท่า ต้องอาศัยความชำนาญ ก่อได้ 5-8 ตร.ม./ วัน
    ขั้นตอนการก่อ ฉาบ ก่อบาง 2 มม. ฉาบบาง 1 ซม. ประหยัดวัสดุไม่แตกร้าว ก่อหนา 1.5 ซม. ฉาบหนา 2 ซม. แตกร้าวง่าย
    ขั้นตอนการใช้อาคาร
    ประหยัดจากการลดขนาดเครื่องปรับอากาศลง 20% ประหยัดได้ประมาณ 3,000 – 9,000 บาท/ เครื่อง เครื่องปรับอากาศ ต้องมีขนาดใหญ่และทำงานหนักเกือบตลอดเวลา
    การประหยัดค่าไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศ Q-CON ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ 30% อิฐมอญไม่เป็นฉนวนและเก็บสะสมความร้อนไว้ในตัวเอง สิ้นเปลืองไฟมาก
    การกันเสียง กันเสียงได้ดี ไม่กันเสียง
    ปลอดภัยกว่า เมื่อเกิดไฟไหม้อาคาร ทนไฟและกันได้นานกว่า 4 ชั่วโมง กันไฟได้เพียง 1 – 1.5 ซม. เท่านั้น
    Answer :

    ทำไมอิฐมวลเบา Q-CON จึงกันความร้อนได้ดี

    เนื่องจากคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวของอิฐ Q-CON ที่มีฟองอากาศขนาดเล็กกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอในเนื้อวัสดุ ซึ่งช่องอากาศเหล่านี้ จะทำหน้าที่ลดทอนหรือยืดหน่วงพลังงานความร้อนเอาไว้ไม่ให้ผ่านจากภายนอกเข้าสู่ภายในได้เนื่องจากมีการเปลื่ยนแปลงตัวกลางตลอดเวลาระหว่างเนื้อวัสดุและช่องอากาศจากการทดสอบพบว่าคอนกรีตมวลเบามีคุณสมบัติความเป็นฉนวนมากกว่าอิฐมอญ 4-10 เท่าทำให้ภายในอาคารเย็นสบายกว่า
    Answer :

    อิฐมวลเบา Q-CON ที่มีฟองอากาศอยู่จำนวนมาก จะสามารถรับแรงได้อย่างไร

    ถึงแม้ว่าอิฐมวลเบา Q-CON จะประกอบไปด้วยฟองอากาศที่กระจายอยู่ภายในเนื้อวัสดุอยู่จำนวนมากแต่ตัวก้อนตันไม่มีรูกลวง และไม่ได้มีลักษณะเป็นรูพรุนที่ทะลุถึงกันโครงสร้างผลึกรูปทรงกลมในลักษณะปิด (Closed Loop) ของอิฐมวลเบา Q-CON มีความแข็งแรงมากทำหน้าที่รับแรงกดหรือแรงอัดที่มากระทำจากภายนอกได้อย่างดีจากการทดสอบโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่ามีค่ากำลังอัดถึง 35 ksc (กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คืออิฐมวลเบา Q-CON เนื้อที่หน้าตัด 1 ตร.ซม. สามารถรับน้ำหนักได้ 35 กก. หรืออิฐมวลเบา Q-CON ขนาด 20x60x10 ซม. จะรับแรงกดได้ถึง 21 ตัน
    Answer :

    “อิฐมวลเบา” ผลิตมาจากอะไร

    อิฐมวลเบาเป็นวัสดุที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ก่อผนัง ด้วยกระบวนการผลิตซึ่งเป็นสูตรเฉพาะ ประกอบด้วยส่วนผสมจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (ปูนใช้สำหรับโครงสร้างอาคาร) ทราย ยิปซั่ม ปูนขาว น้ำ และสารผสมเพิ่ม เพื่อให้เกิดฟองอากาศในเนื้อคอนกรีต โดยผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้อุณหภูมิความดันสูง จึงได้เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวน ช่วยกันความร้อนและกันเสียงจากภายนอกสู่ภายในอาคารได้อย่างดี ประหยัดค่าไฟได้ถึง 30% และยังกันไฟได้นานถึง 4 ชั่วโมง
    Answer :

    เปรียบเทียบคุณสมบัติต่างๆ ระหว่างอิฐมวลเบา Q-CON กับอิฐมอญ