29 January 2019

อิฐมวลเบาก่อผนังห้องน้ำได้ เรามาดูวิธีการก่อผนังห้องน้ำด้วยอิฐมวลเบากันครับ


ไม่รั่วไม่ซึม อิฐมวลเบาก่อผนังห้องน้ำได้
 
หลายคนคิดว่าอิฐมวลเบามีฟองอากาศอยู่มากเหมือนฟองน้ำ จึงทำให้ดูดซึมน้ำและนำมาซึ่งเชื้อรา ไม่เหมาะกับการนำมาก่อผนังห้องน้ำ ความจริงแล้วอิฐมวลเบาสามารถนำมาก่อผนังห้องน้ำได้ หากมีการก่อ ฉาบ ทำระบบกันซึมอย่างถูกวิธี
 
หลายคนคิดว่าอิฐมวลเบามีฟองอากาศอยู่มากจึงดูดซึมน้ำได้มาก
 
ผนังอิฐฉาบปูนทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นอิฐมอญ อิฐบล็อก หรืออิฐมวลเบา ล้วนสามารถเกิดความชื้นในห้องน้ำได้ทั้งนั้น

ผนังก่ออิฐทุกชนิดสามารถเกิดความชื้นในห้องน้ำได้ 
 
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความชื้น เช่น ความชื้นจากใต้ดิน การขาดระบบกันซึมที่มีคุณภาพหรือเสื่อมสภาพ การขาดระบบระบายน้ำที่ดี หรือผนังเกิดแตกร้าวขึ้นมา
 
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความชื้น
 
1.ความชื้นจากใต้ดิน เกิดจากการดูดซึมน้ำที่อยู่ใต้ดินตามธรรมชาติ โดยผ่านเข้ามายังผนังหรือพื้น การปูแผ่นพลาสติกสำหรับกันความชื้นก่อนก่อผนังแถวแรกเป็นการป้องกันวิธีการหนึ่ง

ความชื้นจากใต้ดิน
 
 
2.ขาดระบบกันซึมที่มีคุณภาพ เช่น ปูกระเบื้องผิดวิธีหรือยาแนวเสื่อมคุณภาพ จึงทำให้น้ำจากใต้ดิน น้ำฝนที่สาดเข้ามา หรือแม้กระทั่งน้ำในส่วนพื้นที่ใช้งานซึมเข้าไปในผนังหรือพื้น

ขาดระบบกันซึมที่มีคุณภาพ
 
 
3.ปูนแตกร้าว ทำให้เกิดการรั่วซึมของน้ำเข้ามายังผนังหรือพื้น โดยสาเหตุอาจมาจากการฉาบปูนผิดวิธี หรือฉาบหนาเกิน 1.5 ซม. การใช้ปูนก่อ ปูนฉาบ หรือเครื่องมือผิดประเภท
 
ปูนแตกร้าว
 
อิฐมวลเบาสามารถนำมาสร้างบ้านได้ทั้งหลัง ไม่เว้นแม้แต่ห้องน้ำ มาดูกันว่าวิธีที่ถูกต้องในการก่อสร้างห้องน้ำด้วยอิฐมวลเบานั้นมีขั้นตอนอย่างไร

วิธีก่อสร้างห้องน้ำด้วยอิฐมวลเบา
 
1.ก่อให้ถูกวิธี โดยใช้ปูนและเกรียงสำหรับก่อสร้างอิฐมวลเบาเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้ทำงานง่าย สะดวกรวดเร็ว ประหยัดปูนที่ใช้ในการก่อ และได้ผนังที่ยึดติดกันอย่างแข็งแรง

ก่อผนังให้ถูกวิธี 

2.ทำระบบกันซึมให้มีคุณภาพ เลือกได้ทั้งซีเมนต์กันซึมหรือน้ำยากันซึม โดยทาที่พื้นและผนังรอบห้องน้ำสูงขึ้นมา 30 ซม.

ทำระบบกันซึมให้มีคุณภาพ 
 
3.ฉาบโดยใช้ปูนฉาบสำหรับอิฐมวลเบา
เนื่องจากปูนฉาบสำหรับอิฐมวลเบาจะเติมสารพิเศษที่มีลักษณะเหมือนปูนกาว เพิ่มคุณสมบัติการยึดเกาะให้มีแรงยึดเหนี่ยวที่สูง มีสารอุ้มน้ำเพียงพอลดการแตกร้าว ที่สำคัญก่อนการฉาบควรเตรียมพื้นผิวให้ดี โดยการฉีดน้ำรดผนังอิฐให้อิ่มตัว(เพื่อป้องกันไม่ให้ผนังก่ออิฐดูดน้ำจากปูนฉาบ) การพรมน้ำผนังอิฐนั้นจำเป็นต้องทำก่อนการฉาบเสมอ และทิ้งไว้สักพักให้ผิวแห้งพอหมาด ๆ เพราะถ้าผนังเปียกมากเกินไปปูนฉาบก็จะไม่เกาะกับผนังที่ฉาบ และไม่ควรฉาบหนาเกิน 1.5 ซม. เพื่อป้องกันการแตกร้าว หากฉาบเกินควรแบ่งฉาบเป็น 2 ชั้น โดยก่อฉาบชั้นต่อไป ควรทิ้งปูนให้แข็งตัว (ใช้มือกดไม่ลง)

ฉาบโดยใช้ปูนฉาบสำหรับอิฐมวลเบา 
 
4.ปูกระเบื้องอย่างถูกวิธี ก่อนปูกระเบื้องควรฉาบผนังให้เรียบร้อย ตีแนวปูกระเบื้องที่ผนัง นำกระเบื้องแช่น้ำ แล้วทำการป้ายปูนที่ผนัง และนำแผ่นกระเบื้องมาปู ใช้ค้อนยางทุบให้ได้ระดับ เมื่อปูกระเบื้องเสร็จให้ใช้ยาแนวที่มีคุณภาพอุดช่องว่างระหว่างกระเบื้องแต่ละแผ่นเป็นอันเรียบร้อย

ปูกระเบื้องอย่างถูกวิธี 
 
5.ลงยาแนวที่มีคุณภาพ เมื่อปูกระเบื้องเสร็จให้ใช้ยาแนวที่มีคุณภาพอุดช่องว่างระหว่างกระเบื้องแต่ละแผ่นเป็นอันเสร็จเรียบร้อย

ลงยาแนวที่มีคุณภาพ
 
หากปฏิบัติตามนี้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เราก็จะได้ห้องน้ำที่ก่อด้วยอิฐมวลเบา ที่มีความแข็งแรง ทนทาน ไร้กังวลเรื่องปัญหาความชื้น น้ำรั่วซึมจนเกิดเชื้อราไปได้เลยครับ
 
อิฐมวลเบาสามารถก่อผนังห้องน้ำได้ ไม่มีปัญหา