23 January 2020
คู่มือก่อผนังอิฐมวลเบา Q-CON
- ขนาดมาตรฐานและบรรจุภัณฑ์
- เครื่องมือและอุปกรณ์
- ข้อแนะนำและการเตรียมตัวก่อผนัง Q-CON Block
- ขั้นตอนการก่อผนังอิฐ Q-CON
- การยึดผนัง Q-CON Block เข้ากับโครงสร้าง คสล.
- การก่อเข้ามุมและทางแยกของผนัง
- การก่อ Q-CON Block บนพื้นไร้คาน
- วิธีการติดตั้งคานทับหลังสำเร็จรูป (Lintel)
- การติดตั้งวงกบประตูหน้าต่าง
- การฝังท่องานระบบไฟฟ้าและประปา
- การติดลวดตาข่าย
- รายการตรวจสอบการก่อผนัง Q-CON Block ก่อนฉาบ
- การฉาบผิวด้วยปูนฉาบ
- การตกแต่งผิวโดยไม่ฉาบ
- การปูกระเบื้อง
- ปูนก่อ Q-CON
- ปูนฉาบ Q-CON
- การยึดแขวนวัสดุด้วยพุก
link : รวมคลิปเทคนิคการก่อผนังอิฐมวลเบา
ขนาดมาตรฐานและบรรจุภัณฑ์
ความหนา (ซม.) | กว้าง x ยาว (ซม.) | ก้อน / ตร.ม. | ก้อน / พาเลท | ตร.ม./ พาเลท |
7.5 | 20 x 60 | 8.33 | 200 | 24 |
10 | 20 x 60 | 8.33 | 150 | 18 |
12.5 | 20 x 60 | 8.33 | 120 | 15 |
15 | 20 x 60 | 8.33 | 100 | 12 |
17.5 | 20 x 60 | 8.33 | 80 | 10 |
20 | 20 x 60 | 8.33 | 70 | 9 |
25 | 20 x 60 | 8.33 | 60 | 7 |
ความหนา (ซม.) | กก. / ตร.ม. | ตร.ม. / ถุง |
7.5 | 1.5 | 33 |
10 | 2 | 25 |
12.5 | 2.5 | 20 |
15 | 3 | 16 |
17.5 | 3.5 | 14 |
20 | 4 | 12.5 |
25 | 5 | 10 |
ฉาบหนา (มม.) | กก. / ตร.ม. | ตร.ม. / ถุง |
5 | 8.9 | 5.6 |
7 | 12.5 | 4.0 |
10 | 17.8 | 2.8 |
15 | 26.7 | 1.9 |
20 | 35.7 | 1.4 |
เครื่องมือและอุปกรณ์
การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสม จะช่วยให้สามารถทำงานได้ง่าย สะดวก รวดเร็วและผนังแข็งแรง ประหยัดปูนก่อ ปูนฉาบ ประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ สามารถสั่งซื้อได้ที่ Q-CON และตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ
ข้อแนะนำและการเตรียมตัวก่อผนัง Q-CON Block
- การใช้เครื่องมือที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้เกรียงใบโพธิ์ในการก่อ ทำให้พื้นที่หน้าสัมผัสปูนไม่สมบูรณ์ ผนังไม่แข็งแรง ทำงานล่าช้า และสิ้นเปลืองปูนก่อ
- พื้นที่สูงสุดในการก่อผนัง Q-CON โดยไม่มีเสาเอ็น คานทับหลัง คสล. ให้ใช้ตามข้อมูลใน ตารางพื้นที่สูงสุดผนัง Q-CON Block สำหรับผนังภายนอกและผนังภายใน
ความสูง (เมตร) | ความยาวสูงสุดของผนังโดยไม่ต้องมีเสาเอ็น/ทับหลัง คสล. (เมตร) | |||||
ความหนา Q-CON Block (เซนติเมตร) | ||||||
7.5 | 10 | 12.5 | 15 | 17.5 | 20 | |
2.5 | 4.2 | 6.3 | 8.0 | 10.0 | 10.8 | 10.8 |
2.75 | 3.7 | 6.0 | 7.2 | 9.6 | 10.8 | 10.8 |
3 | 3.4 | 5.7 | 6.6 | 8.2 | 10.0 | 10..8 |
3.25 | 3.0 | 4.9 | 6.2 | 7.6 | 9.0 | 10.8 |
3.5 | 2.0 | 4.5 | 5.4 | 7.1 | 8.0 | 10.8 |
3.75 | - | 3.8 | 4.8 | 6.4 | 7.0 | 10.8 |
4 | - | 3.0 | 3.8 | 5.5 | 6.0 | 10 |
4.5 | - | 1.5 | 2.5 | 4.0 | 5.5 | 9.0 |
5 | - | - | 1.8 | 3.2 | 5.0 | 7.5 |
5.5 | - | - | - | 2.5 | 4.0 | 6.0 |
6 | - | - | - | 1.5 | 3.0 | 5.0 |
หมายเหตุริมผนังทั้งสี่ด้าน ต้องยึดติดกับโครงสร้างเสา หรือคานตลอดแนว
กรณีก่อผนังไม่ชนท้องคาน ( ก่อลอย ) ต้องทำทับหลัง คสล. ตลอดแนว
ควรยึดผนังเข้ากับเอ็นคสล. ด้วยการตอกเหล็กเส้น ขนาด Ø 6 มม ยาว 20 ซม. สลับซ้ายขวา ทุก 2 ชั้นบล็อคตลอดความยาว ก่อนเข้าแบบเทคอนกรีต
ความสูง (เมตร) | ความยาวสูงสุดของผนังโดยไม่ต้องมีเสาเอ็น/ทับหลัง คสล. (เมตร) | |||||
ความหนา Q-CON Block (เซนติเมตร) | ||||||
7.5 | 10 | 12.5 | 15 | 17.5 | 20 | |
2.5 | 2.9 | 4.7 | 6.4 | 8.0 | 9.2 | 9.2 |
2.75 | 2.6 | 4.5 | 5.8 | 7.7 | 9.2 | 9.2 |
3 | 2.4 | 4.3 | 5.3 | 6.6 | 8.5 | 9.2 |
3.25 | 2.1 | 3.7 | 5.0 | 6.1 | 7.7 | 9.2 |
3.5 | 1.4 | 3.4 | 4.3 | 5.7 | 6.8 | 9.2 |
3.75 | - | 2.9 | 3.8 | 5.1 | 6.0 | 9.2 |
4 | - | 2.3 | 3.0 | 4.4 | 5.1 | 8.5 |
4.5 | - | 1.1 | 2.0 | 3.2 | 4.7 | 7.7 |
5 | - | - | 1.4 | 2.6 | 4.3 | 6.4 |
5.5 | - | - | - | 2.0 | 3.4 | 5.1 |
6 | - | - | - | 1.2 | 2.6 | 4.3 |
หมายเหตุ
ริมผนังทั้งสี่ด้าน ต้องยึดติดกับโครงสร้างเสา หรือคานตลอดแนว
กรณีก่อผนังไม่ชนท้องคาน ( ก่อลอย ) ต้องทำทับหลัง คสล. ตลอดแนว
ควรยึดผนังเข้ากับเอ็นคสล. ด้วยการตอกเหล็กเส้น ขนาด Ø 6 มม ยาว 20 ซม. สลับซ้ายขวา ทุก 2 ชั้นบล็อคตลอดความยาว ก่อนเข้าแบบเทคอนกรีต
- กรณีใช้ผนัง Q-CON หนา 7.5 ซม. ให้ทำเสาเอ็น/ คานทับหลัง คสล. ทุกมุม และรัดรอบวงกบช่องเปิด เช่นเดียวกับอิฐมอญ ยกเว้นผนังหุ้มท่อและกล่องเสาโชว์ที่มีความกว้างรวมกันทุกด้านไม่เกิน 1.5 เมตร
- การผสมปูนก่อ Q-CON ต้องข้นพอดี ทดสอบโดยการป้ายด้านข้างของ Block หากเหลวเกินไปปูนจะไหลย้อยลงมา แต่หากปูนข้นเกินจะป้ายปูนไม่ติด
- การก่อในแต่ละชั้นนั้นหากรอยต่อ Block ไม่ได้ระดับแนวระนาบเดียวกันควรใช้เกรียงฟันปลาไส ปรับแต่งให้เป็นแนวเดียวกัน ปัดฝุ่นออกก่อนที่จะก่อต่อไป
- เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการก่อบล็อค ควรก่อบล็อคแถวแรกให้แล้วเสร็จทั้งหมดในวันแรก เพื่อให้ผนังเซ็ตตัว แล้วจึงก่อบล็อคชั้นต่อไปในวันถัดมา
- การก่อผนังบล็อคบริเวณที่คาดว่ามีน้ำขังควรเทคันคสล. สูงประมาณ 10 ซม. แล้วจึงเริ่มการก่อบล็อคทับลงไปโดยป้ายปูนทรายปรับระดับเมื่อเริ่มก่อ แถวแรกทุกครั้ง Q-CON ก่อในชั้นถัดไป ดังภาพด้านล่าง
ขั้นตอนการก่อผนังอิฐ Q-CON
- ทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการก่อผนังคอนกรีตมวลเบา แล้วกำหนดระยะตีเส้นแนวก่อให้ถูกต้องและขึงแนวเส้นเอ็น เพื่อช่วยให้ก่อได้ง่ายขึ้น
- เริ่มก่อโดยการใช้ปูนก่อสำเร็จรูป Q-CON ป้ายลงตามแนวที่จะก่อผนัง
- ผสมปูนทรายทั่วไปสำหรับปรับระดับพื้นก่อนก่อบล็อคชั้นแรก และผสมปูนก่อ Q-CON โดยใส่น้ำก่อน แล้วใส่ปูนตาม ผสมให้เข้ากันด้วยหัวปั่นปูนที่ต่อเข้ากับสว่านไฟฟ้า
- วางปูนทรายทั่วไปลงบนพื้นตามแนวก่อ ความหนาประมาณ 1-5 ซม.
- ป้ายปูนก่อ Q-CON ตามแนวยาวของบล็อค และด้านข้างของเสาโครงสร้างด้วยเกรียงก่อ Q-CON แล้วยกบล็อควางลงบนปูนทรายปรับระดับที่วางไว้แล้ว
- ใช้ค้อนยางและระดับน้ำช่วยปรับแต่งแนวก่อผนังให้ได้ระดับทั้งแนวดิ่งและแนวนอนป้าย ปูนก่อ Q-CON ที่ด้านข้างก้อน แล้วก่อก้อนต่อไปในลักษณะเดียว
- ก่อผนังในชั้นที่ 2 โดยใช้แนวรอยต่อมีระยะเยื้องกันไม่น้อยกว่า 10 ซม.
- ถ้าหากต้องตัด Block ให้ใช้เลื่อยมือ Q-CON หรือ เลื่อยวงเดือน
- ปลายก้อนที่ก่อชนเสาโครงสร้างหรือเสาเอ็น จะต้องยึดด้วยเหล็ก ø6 มม. ความยาวไม่น้อยกว่า 25 ซม. โดยฝังลึกลงในเสาโครงสร้างไม่น้อยกว่า 5 ซม. หรือใช้แผ่นเหล็ก (Metal Strap) ยาวประมาณ 22 ซม. ยึดด้วยพุกสกรูทุกระยะ 2 ชั้นของแนวก่อ Block
- ก่อบล็อคก้อนต่อ ๆ ไป โดยวิธีการเดียวกัน ในข้อที่ 4-8 จนเกือบถึงระดับท้องคาน
- เมื่อก่อผนังไปจนถึงระดับท้องพื้นหรือคาน ให้เว้นไว้ 2-3 ซม. แล้วอุดด้วยปูนทรายให้แน่น
- หากพื้นที่การก่อผนังมากกว่าที่กำหนดในตารางด้านบน ให้ทำเสา-คานเอ็น คสล. ตามแบบขยาย
แบบขยายคานเอ็น คสล.
แบบขยายเสาเอ็น คสล.
แบบขยายคานเอ็น คสล.
แบบขยายเสาเอ็น คสล.
การยึดผนัง Q-CON Block เข้ากับโครงสร้าง คสล.
ใช้เหล็ก Ø 6 มม. ความยาวไม่น้อยกว่า 25 ซม. โดยเจาะฝังลึกลงในเสาโครงสร้างไม่น้อยกว่า 5 ซม. หรือใช้แผ่นเหล็ก (Metal Strap) ความยาวประมาณ 22 ซม. ตอกด้วยตะปูคอนกรีตยาว 1นิ้ว ทุกระยะ 2 ชั้น ของแนวก่อ Block
การก่อเข้ามุมและทางแยกของผนัง
ในกรณีจำเป็นต้องเว้นการก่อผนังด้านใดด้านหนึ่งไว้ก่อนเพื่อมาก่อต่ออีกด้านในภายหลัง สามารถทำได้โดยฝากแผ่นเหล็ก Metal Strap ทิ้งไว้ทุกระยะ 2 ชั้นของ Block การก่อประสานมุม (Interlocking) สามารถทำได้เมื่อใช้ Block หนา 10 ซม.ขึ้นไป และมีพื้นที่รวมกันทุกด้านไม่เกินค่าที่กำหนดในตาราง
การก่อ Q-CON Block บนพื้นไร้คาน
การก่อผนังที่ชนกับท้องพื้นโครงสร้างอาคารซึ่งอาจมีการแอ่นตัวมากเป็นพิเศษ เช่น พื้นระบบPost Tensioned Slap หรือโครงสร้างเหล็ก จะต้องเว้นช่องว่างด้านบนไว้ประมาณ 4 - 5 ซม. แล้วเสริมวัสดุที่มีความยืดหยุ่นตัวได้ เช่น โฟม เป็นต้น และหลีกเลี่ยงการฉาบชนท้องพื้น แต่หากจำเป็นให้เซาะร่องไว้ตามแนวรอยต่อ
วิธีการติดตั้งคานทับหลังสำเร็จรูป (Lintel)
บริเวณผนังที่ต้องมีช่องเปิดต่างๆ เช่น ช่องเปิดของประตู หรือหน้าต่าง สำหรับผนังหนา 7.5 ซม.ขึ้นไป สามารถใช้คานทับหลังสำเร็จรูปของ Q-CON แทนการหล่อเสาเอ็น คสล. คานทับหลัง ในที่โดยการวางคานทับหลังสำเร็จรูป ( Lintel ) ลงบนอิฐ Q-CON ทั้งสองด้าน (ไม่ให้น้ำหนักถ่ายลงบนวงกบโดยตรง) ทั้งนี้ต้องมีระยะนั่งของบ่าทั้งสองด้านให้เพียงพอตามตาราง
ความหนา (ซม.) | ความสูง (ซม.) | ความยาว (ม.) | ระยะนั่ง (ซม.) | |
อิฐมวลเบา Q-CON หนา 7.5 ซม. | อิฐมวลเบา Q-CON หนาตั้งแต่ 10 ซม.ขึ้นไป | |||
7.5, 10, 12.5, 15, 20 | 20 | 1.25, 1.50, 1.80, 2.10, 2.40, 2.70, 3.00, 3.30, 3.60 | 40 | 15-30 |
อิฐมวลเบา Q-CON ความหนา 7.5 ซม. | อิฐมวลเบา Q-CON ความหนาตั้งแต่ 10 ซม. ขึ้นไป | ||
ขนาดช่องเปิด (ม.) | คานทับหลังยาว (ม.) | ขนาดช่องเปิด (ม.) | คานทับหลังยาว (ม.) |
ไม่เกิน 0.40 | 1.20 | ไม่เกิน 0.90 | 1.20 |
0.40-0.70 | 1.50 | 0.90-1.10 | 1.50 |
0.70-1.00 | 1.80 | 1.10-1.40 | 1.80 |
1.00-1.30 | 2.10 | 1.40-1.70 | 2.10 |
1.30-1.60 | 2.40 | 1.70-2.00 | 2.40 |
1.60-1.90 | 2.70 | 2.00-2.10 | 2.70 |
1.90-2.20 | 3.00 | 2.10-2.40 | 3.00 |
2.20-2.50 | 3.30 | 2.40-2.70 | 3.30 |
2.50-2..80 | 3.60 | 2.70-3.00 | 3.60 |
การติดตั้งวงกบประตูหน้าต่าง
การติดตั้งวงกบประตู-หน้าต่าง สามารถทำได้ทั้งก่อนและหลังการก่อผนัง ซึ่งถ้าใช้ Q-CON Lintel จะทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น โดยวิธีการเชื่อมเหล็กเส้นกับนอตสกรูเกลียว 3"
การฝังท่องานระบบไฟฟ้าและประปา
- ขีดเส้นด้านข้างของแนวที่จะขูดเซาะเพื่อฝังท่อ โดยใช้ดินสอขีดลงบนผนัง ( รูปที่ 1)
- ใช้เลื่อยวงเดือนหรือมอเตอร์เจีย โดยใช้ใบตัดคอนกรีตตัดตามเส้นที่ขีดไว้ให้ลึกพอดีกับ ขนาดท่อที่จะฝัง ( ความลึกสูงสุดไม่เกิน 1 ใน 3 ของความหนาของ Block )
- ใช้สิ่วสกัดเนื้อบล็อคออก ( รูปที่ 3 )
- ฝังท่อลงในร่องแล้วตอกยึดแน่นด้วยตะปู ปัดฝุ่นออกให้หมด แล้วจึงอุดด้วยปูนทรายให้แน่นเต็มเสมอกับแนวก่อแล้วปิดด้วยลวดตาข่ายทับก่อนฉาบ
- การก่ออิฐ Q-CON ด้านข้างท่องานระบบขนาดใหญ่ ที่ติดตั้งไว้ก่อนก่อผนัง อิฐ Q-CON
การติดลวดตาข่าย
ตำแหน่งที่ควรติดลวดตาข่าย คือ
- มุมวงกบประตูหน้าต่าง โดยตัดลวดตาข่ายขนาด 15x50 ซม. ติดให้ชิดมุมวงกบ และติดทั้ง 2 ด้านของผนัง
- แนวรอยต่อระหว่างผนังกับเสาหรือคาน คสล. โดยให้ตัดลวดตาข่ายขนาดกว้าง 15 ซม. ติดยาวตลอดแนวเสาหรือคาน คสล. (ลวดตาข่าย #1.25 x 1.25 ซม.)
- ตามแนวฝังท่องานระบบไฟฟ้าหรือประปา โดยควรให้ความกว้างคลุมเลยจากท่อไปอีกข้างละ 10 ซม. การสกัดเซาะร่องไม่ควรลึกเกิน 1/3 ของความหนา Block
รายการตรวจสอบการก่อผนัง Q-CON Block ก่อนฉาบ
- ระยะเสาเอ็น คสล. ต้องตามข้อกำหนด
- ยึดผนังเข้ากับเสาโครงสร้าง
- ป้ายปูนก่อ Q-CON ก่อนวางปูนทราย
- ใช้ปูนทรายปรับระดับหนา 2-3 ซม.
- ใช้ปูนก่อQ-CON หนา 2-3 มม.ป้ายทั้งแนวตั้งและนอน
- ระยะเยื้องระหว่างบล็อคแต่ละชั้นไม่น้อยกว่า 10 ซม.
- Metal Strap หรือเหล็ก Ø 6 มม. X 25 ซม. ทุกระยะ 40 ซม.
- ปาดปูนส่วนเกินออกก่อนที่จะแข็งตัว
- บล็อคแตกชำรุดอุดให้แน่นด้วยปูนก่อ Q-CON
- เซาะร่องลึกได้ไม่เกิน 1/3 ของความหนา
- ติดลวดตาข่ายตลอดแนวก่อนฉาบ
- ใช้ปูนฉาบ Q-CON หนาประมาณ 1.0 ซม.
- เศษบล๊อค Q-CON สามารถใช้ได้ไม่น้อยกว่า 10 ซม.
การฉาบผิวด้วยปูนฉาบ
ปูนฉาบ Q-CON เป็นปูนฉาบสำเร็จรูปที่ผลิตมาใช้สำหรับงานฉาบผนังคอนกรีตมวลเบาโดยเฉพาะมีคุณสมบัติพิเศษต่างจากปูนฉาบทั่วไปคือ มีแรงยึดประสานกันดี มีสารอุ้มน้ำสูง เนื้อละเอียด เหนียวลื่น ฉาบง่าย ไม่แตกร้าว เหมาะสำหรับการฉาบปูนบางด้วยความหนาเพียง 0.5 - 1.0 ซม.เท่านั้น และสามารถใช้ฉาบบนผนังคอนกรีตที่มีผิวหยาบได้
การเตรียมพื้นผิว ควรตรวจสอบผนังตามรายการตรวจสอบผนัง Q-CON ก่อนฉาบในหน้า17-18(หัวข้อ14) แล้วทำความสะอาดผนัง โดยกวาดเศษผงฝุ่นออกและราดน้ำให้ชุ่มพอควร แล้วทิ้งให้หมาดเล็กน้อย
การฉาบปูน ทำการฉาบปูนเป็น 2 ชั้น หนาชั้นละประมาณ 0.3 - 0.8 มม. เมื่อฉาบเที่ยวแรกแล้วให้ทิ้งไว้หมาดๆ จึงฉาบเที่ยวที่สองแล้วแต่งผิวด้วยให้เรียบแล้วตีน้ำตามวิธีปกติ การฉาบหนากว่า 1.5 ซม. แล้วเสร็จในวันเดียวเป็นสาเหตุให้ผนังแตกร้าวได้ต้องแบ่งฉาบเป็นชั้นๆ ชั้นละไม่เกิน 1.5 ซม. ต่อวันทิ้งข้ามคืนแล้วฉาบต่อจนกว่าจะเต็มความหนานั้น หรือติดลวดตาข่ายเสริมในเนื้อปูนฉาบ
บริเวณที่ต้องฉาบหนาเกิน 1.5 ซม.
การเตรียมพื้นผิว ควรตรวจสอบผนังตามรายการตรวจสอบผนัง Q-CON ก่อนฉาบในหน้า17-18(หัวข้อ14) แล้วทำความสะอาดผนัง โดยกวาดเศษผงฝุ่นออกและราดน้ำให้ชุ่มพอควร แล้วทิ้งให้หมาดเล็กน้อย
การฉาบปูน ทำการฉาบปูนเป็น 2 ชั้น หนาชั้นละประมาณ 0.3 - 0.8 มม. เมื่อฉาบเที่ยวแรกแล้วให้ทิ้งไว้หมาดๆ จึงฉาบเที่ยวที่สองแล้วแต่งผิวด้วยให้เรียบแล้วตีน้ำตามวิธีปกติ การฉาบหนากว่า 1.5 ซม. แล้วเสร็จในวันเดียวเป็นสาเหตุให้ผนังแตกร้าวได้ต้องแบ่งฉาบเป็นชั้นๆ ชั้นละไม่เกิน 1.5 ซม. ต่อวันทิ้งข้ามคืนแล้วฉาบต่อจนกว่าจะเต็มความหนานั้น หรือติดลวดตาข่ายเสริมในเนื้อปูนฉาบ
บริเวณที่ต้องฉาบหนาเกิน 1.5 ซม.
การตกแต่งผิวโดยไม่ฉาบ
สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ทำสี Texture ติดวอลเปเปอร์ พ่นลายแกรนิต เป็นต้นซึ่งอาจทำได้ด้วยการพ่นหรือกลิ้งก็ได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายบริการเทคนิค
การปูกระเบื้อง
การปูกระเบื้องบนผนัง Q-CON สามารถใช้ปูนก่อ Q-CON ป้ายลงบนผนังด้วยเกรียงหวีปูกระเบื้องแล้วนำกระเบื้องขึ้นไปปูได้เลยโดยจำเป็นต้องฉาบผนังก่อนเสมอ (ปูนก่อ1 ถุง 50 กก.ปูได้ประมาณ 4 -10 ตร.ม. )
ทั้งนี้การปูกระเบื้องแต่ละครั้งควรป้ายปูนไว้ก่อนไม่เกิน 1 ตร.ม. และควรให้เสร็จภายใน 15 นาที
ทั้งนี้การปูกระเบื้องแต่ละครั้งควรป้ายปูนไว้ก่อนไม่เกิน 1 ตร.ม. และควรให้เสร็จภายใน 15 นาที
ปูนก่อ Q-CON
คุณสมบัติพิเศษ
- มีสารผสมเพิ่มพิเศษ ช่วยเพิ่มการยึดเหนียวรอยต่อก้อน ทำให้แนวก่อแข็งแรง รับแรงได้รวดเร็ว ก่อได้ต่อเนื่อง
- เนื้อละเอียด ปรับแต่งแนวได้ง่าย เมื่อเริ่มต้นก่อ
- ในเนื้อปูนมีสารอุ้มน้ำสูง เพียงพอต่อการทำปฏิกิริยาเคมีทำให้ไม่ต้องราดน้ำที่ก้อนบล็อคก่อนการก่อ
- ประหยัดวัสดุและค่าแรงช่าง ด้วยความหนาของปูนก่อเพียง 2 – 3 มม. เท่านั้น
- สามารถใช้งานได้ดีกับงานปูกระเบื้อง หินแกรนิตและติดตั้งบัว Q-CON ที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ
ปูนฉาบ Q-CON
คุณสมบัติพิเศษ
- มีสารผสมเพิ่มพิเศษ ช่วยเพิ่มการยึดเกาะ อุ้มน้ำสูง ลดการแตกร้าว ไม่หลุดล่อน
- เนื้อละเอียด เหนียวลื่น ฉาบง่าย ไม่ย้อยตัว ได้พื้นที่มากกว่า
- ช่วยกันความร้อนไม่ให้ถ่ายเทเข้ามาภายในอาคาร
- สามารถฉาบบนผิวคอนกรีตที่มีผิวหยาบ
- สามารถใช้งานกับเครื่องพ่นปูนฉาบได้
การยึดแขวนวัสดุด้วยพุก
ผนัง Q-CON Block สามารถยึดแขวนวัสดุต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยใช้พุกสำหรับอิฐมวลเบาที่ทำด้วยเหล็กชุบหรือไนล่อนที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ สามารถหาซื้อได้ที่บริษัทฯ หรือผู้แทนจำหน่ายของบริษัทฯ