10 December 2019

Q Panel  ระบบผนังยุคใหม่ ติดตั้งไว คุณภาพเยี่ยม


เปรียบเทียบคุณสมบัติ Q Panel



 

Q Panel vs Brick Wall

Pain Point ของลูกค้า

ข้อดีของ Q Panel

Block บิ่น แตก เสียหายง่าย
ติดตั้งได้ช้า
ช่างฝีมือหายาก ต้องใช้ช่างที่มีทักษะ มีฝีมือ มีประสบการณ์สูง
ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการทำงาน หาไม่ยากแต่ช่างคิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้ จึงทำให้เกิดปัญหา
พบปัญหาแตกร้าวเยอะและบ่อย จากการทำงานไม่ถูกต้อง
การซ่อมแซมรอยร้าวทำได้ยาก แก้แล้วไม่ค่อยหาย
มีเศษวัสดุเหลือทิ้งหน้างานเยอะ มีค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสียสูง
ทำงานได้เร็วเพราะแผ่นมีขนาดใหญ่ น้ำหนักเบา มีความแข็งแรงสูง สามารถติดตั้งได้ง่าย
ใช้ช่างติดตั้งน้อยลง ช่างไม่จำเป็นต้องมีทักษะ ฝีมือสูงมาก ก็สามารถติดตั้ง Q Panel ได้
ไม่ต้องเทเอ็น สามารถติดตั้งแผ่นได้ยาวต่อเนื่อง ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเข้าแบบและรอคอนกรีตเซ็ตตัว
การฉาบหนาเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผนังเกิดการแตกร้าว Q Panel
สามารถควบคุมความหนาปูนฉาบได้ง่ายกว่า แผ่นมีผิวเรียบทำให้ติดตั้งได้ดิ่งได้ฉากง่าย จึงไม่ต้องฉาบหนา
การก่อผนังอิฐที่ต้องมีการเท หล่อเอ็นคสล. ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้องฉาบหนาขึ้นเพื่อเก็บผิวงานให้เรียบเสมอกัน
แผ่นผนังมีขนาดใหญ่จึงมีรอยต่อน้อย ปัญหารอยร้าวบริเวณรอยต่อจึงน้อยกว่า
สามารถหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาได้ง่าย
สามารถฉาบ skim ผิวได้เลย โดยไม่ต้องทับหน้าก่อน
มีให้เลือกใช้งานตามค่าการรับแรงที่เหมาะสม ทั้งแบบ Double Mesh และ Single Mesh
มีเศษวัสดุเหลือทิ้งน้อย เพราะเป็นสินค้าสั่งผลิต สามารถลด waste ลงได้ประมาณ 5%
​เมื่อเปลี่ยนจากการก่อผนังด้วย Block มาเป็นการติดตั้งด้วยแผ่น Q Panel

   
 

Q Panel vs Extrude Wall

Pain Point ของลูกค้า

ข้อดีของ Q Panel

เนื้อแผ่นเป็นคอนกรีต มีน้ำหนักมาก
แผ่นมีรูกลวง แตกหักได้ง่าย
ติดตั้งยาก เนื้อแข็งและเปราะ ตัดแผ่นได้ยาก เกิดความเสียหายง่าย
ต้องใช้ Fiber Mesh ติดรอยต่อระหว่างแผ่น
ใช้ปูนปูกระเบื้องซึ่งมีค่าความแข็งต่ำกว่าเนื้อแผ่น
ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาแตกร้าวที่รอยต่อได้สูง แก้ไขได้ยาก
การยกแผ่นผิดวิธีจะทำให้แผ่นหักเสียหาย
ไม่สามารถยกแผ่นในแนวนอนได้เพราะเสริมด้วยลวดเหล็กขนาดเล็กเพียงด้านเดียว
ต้องสกิมหนา
Q Panel มีน้ำหนักเบากว่าประมาณ 30 Kg./sq.m. ทำให้ทำงานได้ง่ายกว่า
เนื้อแผ่น Q Panel มีความสม่ำเสมอ เป็นแผ่นตัน สามารถกรีดฝังท่อได้ง่าย
เป็นฉนวนป้องกันความร้อน กันเสียง กันไฟได้ดี
ขั้นตอนการติดตั้งง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน
ไม่ต้องใช้ Fiber Mesh ติดบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่น
ใช้ปูนก่อประเภทเดียวกันกับปูนก่ออิฐมวลเบา หาซื้อได้ง่าย
Q Panel มีความแข็งแรงสูง เพราะเสริมด้วยเหล็กขนาดใหญ่
ผลิตภายใต้มาตรฐาน มอก. 1510-2541 สามารถยก ขนย้ายได้ง่าย
Q Panel สามารถใช้ติดตั้งได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน

  

ต้นทุนค่าแผ่น 400 บาท
ค่าอุปกรณ์ติดตั้ง 70 บาท
ค่าแรงติดตั้ง 130 บาท
รวมต้นทุนก่อนเก็บพื้นผิว 600 บาทต่อตารางเมตร
*ราคาในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล

 

Q Panel vs Other RLC Panels

Pain Point ของลูกค้า

ข้อดีของ Q Panel

แผ่นเสริมด้วยเหล็กทาสีกันสนิมทั่วไป
เนื้อแผ่นเปราะ แตกหักง่าย เพราะใช้สูตร Lime base
อุปกรณ์ที่ใช้ยึดแผ่น ไม่สามารถให้ตัวตามการเคลื่อนตัวของแผ่นพื้น Post Tension ได้ มีโอกาสทำให้ผนังแตกร้าว
เนื้อแผ่นมีความแข็งแรงสูง แตกหักได้ยากกว่า เพราะผลิตด้วยสูตรที่ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เป็นวัตถุดิบหลัก
ใช้อุปกรณ์ติดตั้งแผ่นที่ออกแบบพิเศษ ชุบกัลวาไนซ์ มีความแข็งแรง คงทน สามารถป้องกันการแตกร้าวได้ดี
ขั้นตอนการติดตั้งน้อย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
Q-CON เป็นผู้นำตลาด มีกำลังการผลิตเป็นอันดับ 1 มีความเชี่ยวชาญในการผลิตแผ่น Q Panel ที่สุดในประเทศไทย
มีทีมงาน Support ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ
 
  

Q Panel vs Foam-Concrete Wall

Pain Point ของลูกค้า

ข้อดีของ Q Panel

แผ่นมีน้ำหนักมาก ยกขนย้ายไม่สะดวก
ต้องใช้ Fiber Mesh ติดรอยต่อระหว่างแผ่น
มีค่าอัตราการดูดกลืนน้ำสูง ใช้ติดตั้งผนังห้องน้ำและผนังภายนอกไม่ได้
ไม่มีการเสริมเหล็กภายในแผ่น
ฉาบแต่งผนังด้วยปูนฉาบไม่ได้ ต้องใช้วิธี Skim ได้วิธีเดียว
ใช้ปูนปูกระเบื้องซึ่งมีราคาสูงในการประสานรอยต่อ ไม่มีปูนที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ
ค่าการกันไฟต่ำกว่า 4 ชั่วโมง
การซ่อมแซมรอยร้าวทำได้ยาก แก้แล้วไม่ค่อยหาย
ไม่มีมาตรฐาน มอก. รองรับ
วัสดุโฟมภายในอาจมีการเสื่อมคุณสมบัติลงตามเวลา และเมื่อได้รับความร้อน
อาจทำให้เกิดไอระเหยที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
Q Panel มีความแข็งแรงสูง เพราะเสริมด้วยเหล็กขนาดใหญ่
ผลิตภายใต้มาตรฐาน มอก. 1510-2541 สามารถยก ขนย้ายได้ง่าย
กันไฟได้ดีกว่า กันไฟได้นานถึง 4 ชั่วโมง
ติดตั้งได้ทุกส่วนของอาคาร
แต่งผิวได้หลากหลาย ทั้งการฉาบด้วยปูนฉาบมวลเบา ฉาบบาง(Skim Coat)
หรือระบบ Easy Finish: I-Mesh
Packaging แข็งแรง ป้องกันการกระแทก ป้องกันการแตกหักระหว่างขนส่งได้ดี
 
  

เทคนิคการทำงาน

การต่อแผ่น


การก่อผนังที่มีความสูงกว่าความยาวของแผ่น ให้ใช้ระบบการต่อแผ่น โดยเทเอ็น คสล. ที่หัวแผ่นของแถวแรก
 

การติดตั้งผนังเข้ามุม​

ตอกเหล็กทุกระยะ 40 เซ็นติเมตร เพื่อเสริมความแข็งแรง โดยจะต้องตอกเหล็กยึดแผ่นให้เรียบร้อยก่อนปูนก่อเซ็ตตัว (30 นาที)

การติดตั้งแผ่นบริเวณช่องเปิด

ไม่ต้องทำเสาเอ็นรอบช่องเปิดประตู หน้าต่าง
ตัดแผ่นนอน (ทับหลัง) ให้สั้นกว่าระยะขอบถึงขอบ ไม่เกิด 1 เซ็นติเมตร
ระยะนั่งของแผ่นทับหลัง ไม่น้อยกว่า 15 เซ็นติเมตร
ยึดเหล็กฉากที่มุมของช่องเปิดด้านบนและล่าง

การติดตั้งวงกบ


ติดตั้งได้โดยไม่ต้องเทเอ็น คสล. ยกเว้นประตูหนีไฟ
สามารถติดตั้งได้ทั้งแบบวงกบไม้และวงกบอลูมิเนียม

การติดตั้งงานระบบท่อ




ใช้วิธีการ coring เจาะแผ่นเพื่อให้ท่องานระบบผ่าน ไม่ใช้วิธีการสกัดแผ่น
สามารถกรีดฝังท่องานระบบได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน โดยไม่ส่งผลต่อความแข็งแรงของผนัง
กรณีท่อขนาดเล็ก สามารถกรีดฝังท่อแล้วอุดด้วยปูนทรายหรือปูนก่อมวลเบาและติดลวดตาข่ายก่อนการฉาบ ในกรณีสกิมผิวไม่ต้องติดลวดตาข่าย
กรณีที่ท่อมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่กำหนด (มากกว่า 1 ใน 3 ของความหนาของผนัง) ให้ติดตั้งแบบเว้นช่วง หรือตัดบากแผ่นแล้วค่อยเทคอนกรีตเก็บงานภายหลัง

การติดตั้งผนังห้องน้ำ



ต้องทำ curb คสล. สูงไม่น้อยกว่า 10 ซม. และต้องมีระบบกันซึมจากพื้นถึงผนัง
สูงไม่น้อยกว่า 30 ซม. ในส่วนแห้ง และสูงไม่น้อยกว่า 80 ซม. ในส่วนเปียก

การตอก เจาะ แขวน รับน้ำหนัก

 
ให้ใช้พุกในการเจาะแขวน รับน้ำหนัก สามารถใช้ได้ทั้งพุกพลาสติกและพุกเหล็ก ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัตถุที่จะแขวน

การจัดการเศษแผ่น



การตัดเศษแผ่นเพื่อนำไปใช้งาน ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดเศษวัสดุ ช่วยลดต้นทุนโดยรวมของโครงการ
เศษแผ่นสามารถนำไปใช้เป็นแผ่นเริ่มหรือแผ่นจบของแผงผนังได้
สามารถนำไปใช้เป็นแผ่นเสริมปิดระหว่างท่องานระบบ

การใช้งานในแบบต่าง ๆ


สามารถติดตั้งได้ทั้งแนวโค้งและแบบระนาบเอียง
สามารถติดตั้งเป็น Fin ตกแต่งอาคารได้ทั้งแบบแนวนอนและแนวตั้ง โดยปฏิบัติตามแบบรายละเอียดการติดตั้ง