อิฐมวลเบาช่วยประหยัดพลังงาน กันความร้อนได้อย่างไร
- การใช้พลังงานในอาคารส่วนใหญ่เป็นการใช้ไปเพื่อระบบปรับอากาศ
- การออกแบบอาคารให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนจึงเป็นสิ่งจำเป็น
- ผนังทึบเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยป้องกันความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในอาคาร
- อิฐมวลเบาเป็นวัสดุผนังที่มีประสิทธิภาพสูง ผ่านเกณฑ์อาคารอนุรักษ์พลังงาน และสามารถออกแบบให้มีอัตราส่วนพื้นที่ของผนังโปร่งแสงต่อพื้นที่ผนังทั้งหมดได้สูงกว่าวัสดุผนังอื่น ๆ (อิฐมอญ ผนังคอนกรีต precast)
ข้อมูลจาก คู่มือแนวทางการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
“การออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน”
สัดส่วนการใช้พลังงานในอาคารจะเป็นของระบบปรับอากาศ 65% ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง 25% และระบบอื่นๆ 10% ดังนั้น การประหยัดพลังงานในอาคารส่วนใหญ่จึงมุ่งเน้นไปที่การลดใช้พลังงานในการดำเนิน กิจกรรมในอาคาร การออกแบบระบบปรับอากาศ และระบบไฟฟ้าแสงสว่างให้มีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามหากการออกแบบอาคารไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนแล้ว การประหยัดพลังงานในอาคารก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้
แหล่งความร้อนที่เกิดขึ้นภายในอาคาร
-
การนำความร้อนจากหลังคาอาคาร
-
การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์
-
อากาศภายนอก
-
ผนังอาคาร
-
อุปกรณ์ในอาคาร
-
ความร้อนจากผู้ใช้อาคาร
-
การนำความร้อนจากพื้นอาคาร
ปัจจัยภายในต่อการออกแบบอาคาร
-
ผนังทึบ
-
ผนังโปร่งแสง
-
หลังคา
-
อุปกรณ์บังแดดภายนอก
-
ระบบปรับอากาศ
-
ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
ผนังทึบ
ผนังทึบเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้อาคารมีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน เนื่องจากพลังงานส่วนใหญ่ในอาคารใช้เพื่อควบคุมอุณหภูมิของระบบปรับอากาศให้เหมาะสมกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้ใช้อาคาร ดังนั้นการเลือกใช้ผนังทึบที่เหมาะสมจึงเป็นส่วนสำคัญในการลดความร้อนเข้าสู่อาคารและลดการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศ
แนวทางการออกแบบผนังทึบ
• เพิ่มความสามารถการต้านทานความร้อนให้สูง (R-value) ด้วยการติดฉนวนกันความร้อนที่ผนังด้านนอกหรือใช้ผนัง 2 ชั้น ที่มีช่องว่างอากาศระหว่างชั้น เพื่อกันความร้อนจากภายนอก
• สีของผนังทึบภายนอก ควรเป็นสีโทนอ่อน เช่น สีขาว สีครีม เป็นต้น ซึ่งมีคุณสมบัติดูดกลืนรังสีแสงอาทิตย์น้อยกว่าสีโทนเข้ม แต่ถ้าต้องการใช้สีโทนเข้มควรทาสีผนังทึบในตำแหน่งที่โดนแสงอาทิตย์น้อยหรือมีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมด้วย
แนวทางการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
มาตรฐาน Building Energy Code, BEC กำหนดให้อาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตร ขึ้นไป 9 ประเภทอาคาร ได้แก่สถานศึกษา สำ นักงาน โรงมหรสพ ศูนย์การค้า สถานบริการ อาคารชุมนุมคน สถานพยาบาล อาคารชุด และโรงแรม ต้องมีการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยแบ่งประเภทอาคารตามชั่วโมงการใช้งานเป็น 3 กลุ่มดังนี้
Light Power Density, LPD = ค่ากำลังไฟฟ้าส่องสว่างสูงสุด
แนวทางการออกแบบระบบกรอบอาคาร
ระบบกรอบอาคาร ประกอบด้วยค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกอาคาร (Overall thermal transfer value, OTTV) และค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคาอาคาร (Roof thermal transfer value, RTTV) มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ดังนี้
-
สมบัติความร้อนของวัสดุ ได้แก่ สัมประสิทธิ์การนำความร้อน (k) ความหนาแน่น (p) ความจุความร้อนจำ เพาะ (Cp) และค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนจากรังสีแสงอาทิตย์ (Solar heat gain coefficient, SHGC) เป็นต้น
-
อัตราส่วนพื้นที่ของผนังโปร่งแสงต่อพื้นที่ผนังทั้งหมด(Window to wall ratio, WWR)
-
ค่าสัมประสิทธิ์การบังแดด (Shading coefficient, SC) มีค่าตั้งแต่ 0-1 โดยที่ค่า SC=1 หมายถึงผนังไม่มีการบังของอุปกรณ์บังแดด
-
ค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนรังสีแสงอาทิตย์ของสีทาผนังอาคาร อ้างอิงตามสีอ่อนสีเข้ม โดยมีค่าตั้งแต่ 0.3-0.9 ดังนี้
*แบบจำลองอาคารศูนย์การค้ารูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผนังทึบหนา 10 เซนติเมตร ได้แก่ ผนังอิฐมอญ ผนัง คอนกรีต และผนังคอนกรีตมวลเบา ใช้ร่วมกับผนังโปร่งแสงหนา 6 มิลลิเมตร ได้แก่กระจกใส กระจกเขียว กระจกสะท้อนแสง และกระจก Low-E โดยมีอุปกรณ์บังแดดภายนอก SC=0.8 และผนังทึบทาสีอ่อน ประเมินค่า OTTV ด้วยโปรแกรม BEC V1.0.6
ความสัมพันธ์ระหว่างค่า OTTV และ WWR ของแบบจำลองอาคารศูนย์การค้า พบว่าการใช้ผนังคอนกรีตมวลเบากับผนังโปร่งแสงทุกประเภทสามารถผ่านเกณฑ์ค่า OTTV ได้ที่อัตราส่วน WWR น้อยกว่า 20%
* แบบจำลองอาคารสำนักงานรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผนังทึบหนา 10 เซนติเมตร ได้แก่ ผนังอิฐมอญ ผนัง คอนกรีต และผนังคอนกรีตมวลเบา ใช้ร่วมกับผนังโปร่งแสงหนา 6 มิลลิเมตร ได้แก่กระจกใส กระจกเขียว กระจกสะท้อนแสง และกระจก Low-E โดยมีอุปกรณ์บังแดดภายนอก SC=0.8 และผนังทึบทาสีอ่อน ประเมินค่า OTTV ด้วยโปรแกรม BEC V1.0.6
ความสัมพันธ์ระหว่างค่า OTTV และ WWR ของแบบจำลองอาคารสำนักงาน พบว่าการใช้ผนังคอนกรีตมวลเบากับผนังโปร่งแสงทุกประเภทสามารถผ่านเกณฑ์ค่า OTTV ได้ที่อัตราส่วน WWR น้อยกว่า 15% ซึ่งหากต้องการออกแบบอาคารให้มีค่าอัตราส่วน WWR สูงขึ้น สามารถทำ ได้โดยการเปลี่ยนชนิดผนังโปร่งแสงให้มีสมบัติกันความร้อนที่ดีขึ้น * แบบจำลองอาคารชุดรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผนังทึบหนา 10 เซนติเมตร ได้แก่ ผนังอิฐมอญ ผนังคอนกรีตและผนังคอนกรีตมวลเบา ใช้ร่วมกับผนังโปร่งแสงหนา 6 มิลลิเมตร ได้แก่ กระจกใส กระจกเขียว กระจกสะท้อนแสง และกระจก Low-E โดยมีอุปกรณ์บังแดดภายนอก SC=0.8 และผนังทึบทาสีอ่อน ประเมินค่า OTTV ด้วยโปรแกรม BEC V1.0.6
ความสัมพันธ์ระหว่างค่า OTTV และ WWR ของแบบจำลองอาคารชุดพบว่า การใช้ผนังคอนกรีตมวลเบากับผนังโปร่งแสงทุกประเภทสามารถผ่านเกณฑ์ค่า OTTV ได้ที่ อัตราส่วน WWR น้อยกว่า 25% และหากใช้ผนังอิฐมอญจะสามารถผ่านเกณฑ์ค่า OTTV ได้ที่อัตราส่วน WWR น้อยกว่า 5%
จากแบบจำลองอาคารต่าง ๆ ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน สรุปได้ว่า อิฐมวลเบาเป็นวัสดุผนังทึบที่ดี มีคุณสมบัติในการต้านทานความร้อน สามารถเลือกใช้ในงานอาคารอนุรักษ์พลังงาน และยังมีค่า WWR หรืออัตราส่วนพื้นที่ของผนังโปร่งแสงต่อพื้นที่ผนังทั้งหมด สูงกว่าการใช้ผนังอิฐมอญและผนังคอนกรีตอีกด้วย
อิฐมวลเบา Q-CON ได้รับฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงเป็นรายแรกและรายเดียวที่ได้ครบทุกชั้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบา
ดีจริง ประหยัดจริง
ทุกครั้งที่เลือกซื้อ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการติด "ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง" ออกโดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ทำการทดสอบประสิทธิภาพพลังงานของผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐาน เห็นฉลากติดที่ผลิตภัณฑ์ใด มั่นใจได้เลยว่าประหยัดพลังงาน
อิฐมวลเบา พัฒนาขึ้นเพื่อการก่อสร้างผนัง มีน้ำหนักเบา เก็บเสียงได้ดี ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง อิฐมวลเบาที่ติดฉลากประหยัดพลังงาน จะสามารถป้องกันและต้านทานความร้อนได้ดี ช่วยให้บ้านร่มรื่น เย็นสบาย ประหยัดค่าใช้จ่ายจากเครื่องปรับอากาศ
เลือกอย่างไร ให้ประหยัดพลังงาน
- อิฐมวลเบาความหนา 7.5 เซนติเมตร ดูที่ค่าความต้านทานความร้อน เท่ากับหรือมากกว่า 0.58
- อิฐมวลเบาความหนา 10 เซนติเมตร ดูที่ค่าความต้านทานความร้อน เท่ากับหรือมากกว่า 0.77
ข้อมูลจาก คู่มือแนวทางการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน