12 October 2020

อิฐมวลเบาช่วยประหยัดพลังงาน กันความร้อนได้อย่างไร

  • การใช้พลังงานในอาคารส่วนใหญ่เป็นการใช้ไปเพื่อระบบปรับอากาศ
  • การออกแบบอาคารให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนจึงเป็นสิ่งจำเป็น
  • ผนังทึบเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยป้องกันความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในอาคาร
  • อิฐมวลเบาเป็นวัสดุผนังที่มีประสิทธิภาพสูง ผ่านเกณฑ์อาคารอนุรักษ์พลังงาน และสามารถออกแบบให้มีอัตราส่วนพื้นที่ของผนังโปร่งแสงต่อพื้นที่ผนังทั้งหมดได้สูงกว่าวัสดุผนังอื่น ๆ (อิฐมอญ ผนังคอนกรีต precast)
 

ข้อมูลจาก คู่มือแนวทางการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน​  กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน


“การออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน”

สัดส่วนการใช้พลังงานในอาคารจะเป็นของระบบปรับอากาศ 65% ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง 25% และระบบอื่นๆ 10% ดังนั้น การประหยัดพลังงานในอาคารส่วนใหญ่จึงมุ่งเน้นไปที่การลดใช้พลังงานในการดำเนิน กิจกรรมในอาคาร การออกแบบระบบปรับอากาศ และระบบไฟฟ้าแสงสว่างให้มีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามหากการออกแบบอาคารไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนแล้ว การประหยัดพลังงานในอาคารก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้
 


 


 

แหล่งความร้อนที่เกิดขึ้นภายในอาคาร

  1. การนำความร้อนจากหลังคาอาคาร

  2. การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์

  3. อากาศภายนอก

  4. ผนังอาคาร

  5. อุปกรณ์ในอาคาร

  6. ความร้อนจากผู้ใช้อาคาร

  7. การนำความร้อนจากพื้นอาคาร

 
 

ปัจจัยภายในต่อการออกแบบอาคาร

  1. ผนังทึบ

  2. ผนังโปร่งแสง

  3. หลังคา

  4. อุปกรณ์บังแดดภายนอก

  5. ระบบปรับอากาศ

  6. ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง

ผนังทึบ

ผนังทึบเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้อาคารมีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน เนื่องจากพลังงานส่วนใหญ่ในอาคารใช้เพื่อควบคุมอุณหภูมิของระบบปรับอากาศให้เหมาะสมกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้ใช้อาคาร ดังนั้นการเลือกใช้ผนังทึบที่เหมาะสมจึงเป็นส่วนสำคัญในการลดความร้อนเข้าสู่อาคารและลดการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศ

แนวทางการออกแบบผนังทึบ

เพิ่มความสามารถการต้านทานความร้อนให้สูง (R-value) ด้วยการติดฉนวนกันความร้อนที่ผนังด้านนอกหรือใช้ผนัง 2 ชั้น ที่มีช่องว่างอากาศระหว่างชั้น เพื่อกันความร้อนจากภายนอก

สีของผนังทึบภายนอก ควรเป็นสีโทนอ่อน เช่น สีขาว สีครีม เป็นต้น ซึ่งมีคุณสมบัติดูดกลืนรังสีแสงอาทิตย์น้อยกว่าสีโทนเข้ม แต่ถ้าต้องการใช้สีโทนเข้มควรทาสีผนังทึบในตำแหน่งที่โดนแสงอาทิตย์น้อยหรือมีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมด้วย
 

แนวทางการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

มาตรฐาน Building Energy Code, BEC กำหนดให้อาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตร ขึ้นไป 9 ประเภทอาคาร ได้แก่สถานศึกษา สำ นักงาน โรงมหรสพ ศูนย์การค้า สถานบริการ อาคารชุมนุมคน สถานพยาบาล อาคารชุด และโรงแรม ต้องมีการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยแบ่งประเภทอาคารตามชั่วโมงการใช้งานเป็น 3 กลุ่มดังนี้

 

Light Power Density, LPD = ค่ากำลังไฟฟ้าส่องสว่างสูงสุด

แนวทางการออกแบบระบบกรอบอาคาร

ระบบกรอบอาคาร ประกอบด้วยค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกอาคาร (Overall thermal transfer value, OTTV) และค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคาอาคาร (Roof thermal transfer value, RTTV) มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ดังนี้

  1. สมบัติความร้อนของวัสดุ ได้แก่ สัมประสิทธิ์การนำความร้อน (k) ความหนาแน่น (p) ความจุความร้อนจำ เพาะ (Cp) และค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนจากรังสีแสงอาทิตย์ (Solar heat gain coefficient, SHGC) เป็นต้น

  2. อัตราส่วนพื้นที่ของผนังโปร่งแสงต่อพื้นที่ผนังทั้งหมด(Window to wall ratio, WWR)
     


     

  3. ค่าสัมประสิทธิ์การบังแดด (Shading coefficient, SC) มีค่าตั้งแต่ 0-1 โดยที่ค่า SC=1 หมายถึงผนังไม่มีการบังของอุปกรณ์บังแดด
     

  4. ค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนรังสีแสงอาทิตย์ของสีทาผนังอาคาร อ้างอิงตามสีอ่อนสีเข้ม โดยมีค่าตั้งแต่ 0.3-0.9 ดังนี้
     

 

*แบบจำลองอาคารศูนย์การค้ารูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผนังทึบหนา 10 เซนติเมตร ได้แก่ ผนังอิฐมอญ ผนัง คอนกรีต และผนังคอนกรีตมวลเบา ใช้ร่วมกับผนังโปร่งแสงหนา 6 มิลลิเมตร ได้แก่กระจกใส กระจกเขียว กระจกสะท้อนแสง และกระจก Low-E โดยมีอุปกรณ์บังแดดภายนอก SC=0.8 และผนังทึบทาสีอ่อน ประเมินค่า OTTV ด้วยโปรแกรม BEC V1.0.6

ความสัมพันธ์ระหว่างค่า OTTV และ WWR ของแบบจำลองอาคารศูนย์การค้า พบว่าการใช้ผนังคอนกรีตมวลเบากับผนังโปร่งแสงทุกประเภทสามารถผ่านเกณฑ์ค่า OTTV ได้ที่อัตราส่วน WWR น้อยกว่า 20%
 

* แบบจำลองอาคารสำนักงานรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผนังทึบหนา 10 เซนติเมตร ได้แก่ ผนังอิฐมอญ ผนัง คอนกรีต และผนังคอนกรีตมวลเบา ใช้ร่วมกับผนังโปร่งแสงหนา 6 มิลลิเมตร ได้แก่กระจกใส กระจกเขียว กระจกสะท้อนแสง และกระจก Low-E โดยมีอุปกรณ์บังแดดภายนอก SC=0.8 และผนังทึบทาสีอ่อน ประเมินค่า OTTV ด้วยโปรแกรม BEC V1.0.6

ความสัมพันธ์ระหว่างค่า OTTV และ WWR ของแบบจำลองอาคารสำนักงาน พบว่าการใช้ผนังคอนกรีตมวลเบากับผนังโปร่งแสงทุกประเภทสามารถผ่านเกณฑ์ค่า OTTV ได้ที่อัตราส่วน WWR น้อยกว่า 15% ซึ่งหากต้องการออกแบบอาคารให้มีค่าอัตราส่วน WWR สูงขึ้น สามารถทำ ได้โดยการเปลี่ยนชนิดผนังโปร่งแสงให้มีสมบัติกันความร้อนที่ดีขึ้น
* แบบจำลองอาคารชุดรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผนังทึบหนา 10 เซนติเมตร ได้แก่ ผนังอิฐมอญ ผนังคอนกรีตและผนังคอนกรีตมวลเบา ใช้ร่วมกับผนังโปร่งแสงหนา 6 มิลลิเมตร ได้แก่ กระจกใส กระจกเขียว กระจกสะท้อนแสง และกระจก Low-E โดยมีอุปกรณ์บังแดดภายนอก SC=0.8 และผนังทึบทาสีอ่อน ประเมินค่า OTTV ด้วยโปรแกรม BEC V1.0.6

ความสัมพันธ์ระหว่างค่า OTTV และ WWR ของแบบจำลองอาคารชุดพบว่า การใช้ผนังคอนกรีตมวลเบากับผนังโปร่งแสงทุกประเภทสามารถผ่านเกณฑ์ค่า OTTV ได้ที่ อัตราส่วน WWR น้อยกว่า 25% และหากใช้ผนังอิฐมอญจะสามารถผ่านเกณฑ์ค่า OTTV ได้ที่อัตราส่วน WWR น้อยกว่า 5%

 

จากแบบจำลองอาคารต่าง ๆ ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน สรุปได้ว่า อิฐมวลเบาเป็นวัสดุผนังทึบที่ดี มีคุณสมบัติในการต้านทานความร้อน สามารถเลือกใช้ในงานอาคารอนุรักษ์พลังงาน และยังมีค่า WWR หรืออัตราส่วนพื้นที่ของผนังโปร่งแสงต่อพื้นที่ผนังทั้งหมด สูงกว่าการใช้ผนังอิฐมอญและผนังคอนกรีตอีกด้วย

 

อิฐมวลเบา Q-CON ได้รับฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงเป็นรายแรกและรายเดียวที่ได้ครบทุกชั้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบา

 

ดีจริง ประหยัดจริง

ทุกครั้งที่เลือกซื้อ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการติด "ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง" ออกโดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ทำการทดสอบประสิทธิภาพพลังงานของผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐาน เห็นฉลากติดที่ผลิตภัณฑ์ใด มั่นใจได้เลยว่าประหยัดพลังงาน

 


 

อิฐมวลเบา พัฒนาขึ้นเพื่อการก่อสร้างผนัง มีน้ำหนักเบา เก็บเสียงได้ดี ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง อิฐมวลเบาที่ติดฉลากประหยัดพลังงาน จะสามารถป้องกันและต้านทานความร้อนได้ดี ช่วยให้บ้านร่มรื่น เย็นสบาย ประหยัดค่าใช้จ่ายจากเครื่องปรับอากาศ

 

เลือกอย่างไร ให้ประหยัดพลังงาน

  • อิฐมวลเบาความหนา 7.5 เซนติเมตร ดูที่ค่าความต้านทานความร้อน เท่ากับหรือมากกว่า 0.58
  • อิฐมวลเบาความหนา 10 เซนติเมตร ดูที่ค่าความต้านทานความร้อน เท่ากับหรือมากกว่า 0.77
ยิ่งมาก ยิ่งดี
 

ข้อมูลจาก คู่มือแนวทางการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน​  กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน